ห้องเรียนรู้ธรรมชาติ | วนธารา รีสอร์ท
top of page

Acerca de

57465182_2218838904838534_55780562885473

ห้องเรียนรู้ธรรมชาติ

ลำน้ำเข็ก เป็นลำน้ำที่กำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอ เขาค้อ แล้วไหลผ่านอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นน้ำตกศรีดิษฐ์ น้ำตกแก่งโสภาที่เลื่องชื่อของพิษณุโลก น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซอง และน้ำตกวังนกแอ่น แล้วไหลผ่านอำเภอวังทอง ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำวังทอง ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่อำเภอบางกระทุ่ม

ลักษณะลำน้ำ

เป็นลำน้ำขนาดไม่ใหญ่นัก ในช่วงหน้าฝน น้ำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และในช่วงหน้าแล้งจะเป็นสีเขียวใส ลำน้ำเข็กจะไหลคดเคี้ยวไปตามซอกเขาใหญ่น้อยตั้งแต่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ จนผ่านเข้าสู่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงจะมีเกาะแก่งมากมาย เช่น แก่งวังน้ำเย็น ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ในเขตพื่นที่หน่วยหนองแม่นา และไหลเคียงคู่กับทางหมายเลข 12 ตามลำน้ำจะมีเกาะแก่งมากมาย ความรุนแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ถ้าเป็นช่วงหน้าผนตกชุก ความรุนแรงของกระแสน้ำจะมากตามมาด้วย

จุดเด่นของลำน้ำ

ลำน้ำเข็ก เป็นลำน้ำที่สามารถนำเรือยางมาใช้ล่องแก่งได้อย่างสนุกสนาน เร้าใจตลอดเส้นทาง คือ ตั้งแต่บ้านปากยาง ตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ อำเภอวังทอง ลงไปจนถึง น้ำตกแก่งซอง รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลาในการล่องแก่งไม่เกิน 3 ชั่วโมง แล้วแต่ระดับน้ำจะมากหรือน้อยซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป ตั้งแต่จุดเริ่มต้นล่องแก่ง จะพบกับแก่งต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับ 1 – 2 แล้วค่อย ๆ รุนแรงถึงระดับ 4 – 5 ในช่วงท้าย ๆ ทำให้มีเวลาซักซ้อมฝีพายก่อน และบางแก่งจะมีความยาวของแก่งต่อเนื่องกันเป็นระยะหลายร้อยเมตร การเดินทางมาล่องแก่งนี้มีความสำดวก เพราะว่าลำน้ำจะอยู่ใกล้ถนน คือ ลงจากรถยนต์ก็สามารถขึ้นแพยางได้เลย แล้วเมื่อถึงจุดขึ้นจากแพยางก็สามารถขึ้นรถต่อได้เช่นกัน ไม่ต้องเดินทางไกลเหมือนสถานที่อื่น ๆ

แก่งต่าง ๆ ในลำน้ำเข็ก

เมื่อเริ่มลงเรือยางจากท่าน้ำทรัพย์ไพรวัลย์ มาได้ไม่ไกลนัก ก็จะสัมผัสกับ

แก่งท่าข้าม

เป็นแก่งที่ไม่ใหญ่นักสามารถทำการฝึกการบังคับเรือความยากอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เท่านนั้น ในช่วงที่น้ำน้อย ก็มีโขดหินโผล่พ้นน้ำพอให้ออกกำลังกายพอหอมปากหอมคอผ่านพ้อนแก่งท่าข้ามจะพบน้ำนิ่งอยู่สักพัก สามารถกระโดดลอยคอเล่นได้ล่องแก่งไปสักหน่อยก็จะถึงแก่งไทร

แก่งไทร

เป็นแก่งที่มีความยากในระดับ 3 – 4 เมื่อผ่านสายน้ำนิ่งมาแล้วสายน้ำจะแยกออกเป็น 2 ทาง ทางซ้ายมือไม่สามารถล่องผ่านไปได้เพราะจะมีโขดหินใหญ่โผล่ออกมามากมาย และมีต้นไม้หนาแน่นจะต้องผ่านทางด้านขวาของสายน้ำซึ่งเป็นช่องทางไม่กว้างนักลักษณะของแก่ง คือ เมื่อเริ่มล่องแก่งได้ประมาณ 10 เมตรสายน้ำจะหักเลี้ยวซ้ายมือทันทีฝีพายทางด้านขวามือต้องทำงานค่อนข้างหนักจึงจะผ่านแก่งมรดกป่าได้

แก่งปากยาง

เมื่อล่องผ่านแก่งมรดกป่ามาได้ไม่ไกลนักจะได้ยินเสียงน้ำดังสนั่นอยู่ด้านหน้า เรียกว่า แก่งปากยาง ที่แก่งน้ำด้านซ้ายของสายน้ำ ฝีพายจะต้องยึดสายน้ำทางด้านซ้ายมือเอาไว้ ความยากของแก่งปากยางจะอยู่ในระดับ 2 – 3 แล้วแต่ความมากน้ำของกระแสน้ำก่อนจะหมด แก่งปากยางน้ำ จะมีน้ำตกเล็ก ๆ ที่ลดระดับของชั้นหินขวางอยู่ทั้งลำน้ำ มีความสูงต่างระดับกันประมาณ 1 เมตรกว่า ๆ ที่เรียกว่า แก่งหินลาด

แก่งหินลาด

จะเป็นช่วงสุดท้านของแก่งปากยางเป็นหินลดระดับลงห่างกันประมาณ 1 เมตร เมื่อล่องเรือยางมาถึงแก่งนี้แล้ว จะต้องยึดตัวให้อยู่บนเรือ ไม่เช่นนั้นอาจจะถูกกระแสน้ำซัดกระเด็นออกนอกเรือ หรือกระเด็นไปอยู่ที่ด้านหลังหรอด้านหน้าของเรือก็ได้ เมื่อผ่านแก่งนี้ไปได้สายน้ำจะลดความรุนแรงลง กลายเป็นสายน้ำนิ่งไหลเอื่อยอีกครั้ง

แก่งสวนรัชมังคลา

ไม่ไกลจากแก่งน้ำตกหลังสวนนัก จะพบกับทางแยกของสายน้ำอีกครั้ง สามารถไปได้ทั้งซ้ายและขวา แต่ขอแนะนำให้ล่องแพไปทางด้านชวาของสายน้ำจะสนุกตื่นเต้นกว่าทางด้านซ้าย ทางด้านขวาน้ำจะมีหินขวางอยู่กลางลำน้ำ ทำให้ได้สนุกสนานกับการบังคับเรือยางให้ผ่านพ้นไปช่วงปลาย ๆ ของแก่งนี้ จะมีความรุนแรงถึงระดับ 3 – 4 เลยทีเดียว ถ้าเป็นช่วงนี้น้ำขึ้นสูงมาก ๆ จะมียอดคลื่นสูงเกิน 1 เมตร

แก่งซาง

อยู่ไม่ไกลจากแก่งสวนรัชมังคลา ก่อนที่เรือจะถึงแก่งซางน้ำ สายน้ำจะค่อนข้างราบเรียบ ลักษณะของแก่งซางจะเป็นลานหินกว้างมาก และลดระดับลงในแต่ละช่วง กว่าจะสิ้นสุดแก่งซางนั้น สายน้ำก็ลดระดับลงไม่ต่ำกว่า 10 เมตร แก่งนี้จึงมีความยากในระดับ 4 – 5 เมื่อเรือยากล่องผ่านน้ำนิ่ง สายน้ำจะหักเลี้ยวซ้าย ทันทีที่เรือเลี้ยวมาตามสายน้ำ ก็จะได้พบกับความยิ่งใหญ่ของแก่งซาง ความรุนแรงของกระแสน้ำ ที่ลดหลั่นกันลงไปตามเชิงชั้นของแผ่นหินกระเซ้นแตกเป็นฟองกระจาย กว่าจะผ่านแก่งซางไปได้น้ำก็เข้ามาเต็วเรือทีเดียวเพราะฉะน้ำจะต้องบังคับเรือชิดทางด้านฝั่งซ้ายเอาไว้ ถ้าบังคับเรือมากลางสายน้ำ หรือด้านขวาของสายน้ำ ความรุนแกรงของกระแสน้ำจะพัดเรือไปกระแทกหินทางด้านฝั่งขวา อาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ แก่งซางนี้จึงนับได้ว่าเป็นแก่งที่ค่อนข้างอันตราย จะต้องนั่งแล้วพยายามยึดตัวเองให้อยู่ในเรือ

แก่งโสภาราม

เป็นแก่งหักศอกรูปตัว S ความรุนแรงของกระแสน้ำไม่รุนแรงมากนัก แต่จะโค้งหักศอก

แก่งนางคอย

ลักษณะของแก่งนางคอยจะเป็นการลดระดับของชั้นหิน และกระแสน้ำจะมีความสูงเกือบ 2 เมตร ความยากจะอยู่ในระดับ 4-5 การลดระดับของชั้นหินนั้นจะเอียงจากทางด้านขวาของสายน้ำไปทางด้านซ้ายในแนวเฉียง จึงทำให้เพิ่มความยากขึ้นไปอีก ควรจอดเรือตรงลานหินเหนือแก่ง แล้วเดินไปตรวจดูสภาพของแก่งเสียก่อนว่าควรจะนำเรือยางไปตามล่องน้ำด้านไหน แต่ขอแนะนำให้ลงทางด้านซ้าย แต่ไม่ใช่ซ้ายสุด เพราะทางด้านซ้ายสุด ด้านล่างของแก่งจะมีก้อนหินใหญ่อยู่ 2 กันแพอาจจะพลิกคว่ำได้ ถ้าล่องผ่านแก่งนางคอยแล้วสามารถบังคับเรือกลับไปล่องน้ำด้านขวามือสุดจะเป็นร่องน้ำเล็ก ๆ ก็จะสามารถนำเรือขึ้นไปล่องลนแก่งนางคอยได้อีก ถ้าต้องการเพิ่มความสนุกสนาน

แก่งยาว

แก่งยาวจะมีความยาวกว่า 100 เมตร สมกับชื่อของแก่งกว่าจะล่องผ่านแก่งยาวไปได้ก็สะบักสะบอมกันเอาเรื่องทีเดียว ลักษณะของแก่งยาวจะเป็นแก่งที่สายน้ำจะผ่านโขดหินมากมาย และจะค่อย ๆ ลดระดับลาดเอียงลงสู่ด้านหน้าของแก่งควรจะบังคับเรือยางให้เข้าร่องน้ำทางด้านซ้ายก่อนจะสิ้นสุด ปลายแก่งจะมีก้อนหินใหญ่ขวางอยู่ต้องบังคับเรือหลบหลีกให้ทัน ไม่เช่นนั้นเรืออาจจะกระแทกกับหินทำให้เกิดอันตรายได้ ความยากของแก่งนี้จะอยู่ในระดับ 3  - 4 แล้วแต่ระดับของน้ำ

เมื่อล่องแพผ่านทั้งแก่งซางแก่งนางคอย และแก่งยาวมาได้แล้วแก่งต่าง ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็ไม่ใช่เป็นแก่งที่ยาก ไม่ว่าจะเป็นแก่งคงสัก หรือแก่งวังน้ำเย็น ที่มีความยากในระดับ 1 – 2 เท่านั้น สามารถลงไปลอยคอผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้เย็นสบาย จนถึงจุดขึ้นฝั่งที่แก่งทักขุนไทได้อย่างสนุกสนานทีเดียว รวมแล้วผ่านมา 18 แก่ง

ลำน้ำเข็ก

ป่าไม้ในประเทศไทย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

2. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

 

ป่าประเภทไม่ผลัดใบได้แก่ 

- ป่าดิบเขา: ปกคลุมยอดเขาสูง มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี พบได้ทุกภาคของประเทศไทย เป็นป่าต้นน้ำลำธาร

- ป่าสนเขา: สภาพภูมิอากาศค่อนข้างเย็น มีช่วงหน้าเย็นเป็นระยะเวลานาน พบตามยอดเขาสูงทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- ป่าดิบชื้น: พบบริเวณที่ราบหรือบนภูเขา พบในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศที่มีปริมาณน้ำฝนเกินกว่า 1,600 มม./ปี

- ป่าดิบแล้ง: มีพันธุ์ไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน มีช่วงเวลาแล้งยาวนาน 3-4 เดือน พบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- ป่าพรุ: ขึ้นในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สภาพดินเป็นกรดจัด มีซากพืชทับถมหนาพบในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก

- ป่าชายเลน: สังคมพืชขึ้นบนเดินเลน ตามแนวชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำน้ำกร่อย และน้ำทะเลท่วมถึง พบบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของภาคใต้

 

ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

- ป่าเต็งรัง: พบในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

- ป่าเบญจพรรณ: เป็นป่าโปร่ง มีการผลัดใบในฤดูแล้ง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย

ที่มา สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

สวนป่าวนธาราส่วนใหญ่เป็นป่าเบญพรรณ

ป่าผสมผลัดใบระดับต่ำ (Lower mixed deciduous forest) โครงสร้างนี้ไม่มีไม้สักปรากฏ ส่วนใหญ่พบปรากฏในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน เรือนยอดสามารถแบ่งได้ 4 ชั้น

- เรือนยอดชั้นบน (top canopy) พันธุ์ไม้มีความสูงเกินกว่า 30 ม. ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลักหลายชนิด เช่น กะบก ประดู่ป่า แดง สกุลตะแบก (เสลา อินทนิลบก) สกุลกาสามปีก (กาสามปีก ไข่เน่า สวอง) และอาจจะพบพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ เช่น ตะเคียนทอง มะม่วงป่า

- เรือนยอดชั้นกลาง (secondary canopy) สูงประมาณ 8-25 ม. ขึ้นตามช่องว่างของชั้นเรือนยอด พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สะทิบ แดง เสลา อินทนิลบก คูน หมูหมัน เป็นต้น ในชั้นเรือนยอดนี้มักพบไผ่ขึ้นอย่างหนาแน่น เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่บงดำ ไผ่รวก เป็นต้น

- ชั้นไม้พุ่มและไม้ขนาดเล็ก (shrub and small tree) ส่วนใหญ่เป็นลูกไม้และต้นไม้ขนาดเล็กของเรือนยอดชั้นบนและชั้นกลาง ความสูงไม่เกิน 8 ม. เช่น เปล้าแพะ ปออีบิด มะกีบ เป็นต้น

- ชั้นพื้นป่า (forest floor) ส่วนใหญ่มักเป็นหญ้าและลูกไม้ของเรือนยอดชั้นบน และยังมีรากฏพืชหัวและพืชล้มลุกอย่าง บุก

ที่มา https://www.facebook.com/130907225826/posts/10157786898710827/

ป่าในประเทศไทย
bottom of page